เอกสารเพื่อประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการ

ตัวอย่างที่  2

ข้อเสนอแนวความคิด/วิธีการเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ของ  นางสาววงศ์สิริ  ชุนดี

เพื่อประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง  บรรณารักษ์ชำนาญการ  ตำแหน่งเลขที่ 4234

กลุ่ม/ศูนย์  สำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงราย  ของสำนักงาน กศน.  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง    การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้สู่ชุมชน

1. หลักการและเหตุผล

จากผลสำรวจการอ่าน ปี 2561 ชี้คนไทยใช้เวลาอ่านมากขึ้นเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจในปี2558 ที่มีการอ่านอยู่ 66 นาทีต่อวัน และปี 2556 อ่าน 37 นาทีต่อวัน  โดยวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการอ่านนานสุดอยู่ที่ 109 นาทีต่อวัน   ผลสำรวจดังกล่าว เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ‘สำนักงานอุทยานการเรียนรู้’ (TK park)  กับ ‘สำนักงานสถิติแห่งชาติ’ ซึ่งได้รายงานว่า คนไทยใช้เวลาอ่านเพิ่มมากขึ้นเป็น 80 นาทีต่อวัน ขณะที่ภาพรวมในการอ่านของคนไทยพบมีการอ่านถึง 78.8% หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน โดยกรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุดคิดเป็น 92.9%

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปที่ตัวเลขของกลุ่มที่ไม่อ่านพบว่า มีถึง 21.2% คิดเป็นจำนวนประชากร 13.7 ล้านคน ซึ่งเหตุผลของการไม่อ่านมีตั้งแต่การดูทีวี ไม่มีเวลา อ่านไม่ออก ไม่ชอบ ไม่สนใจการอ่าน ชอบเล่นเกม รวมทั้งไม่มีเงินซื้อหนังสือ

          การอ่านมีคุณค่าและประโยชน์ในด้านพัฒนาความคิด เชาวน์ปัญญา รับรู้ข่าวสารต่างๆ และยังเป็นพื้นฐานต่อยอดองค์ความรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสิ่งจำเป็นของทุกคนที่จะต้องใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และต้องการความสำเร็จ ถือเป็นการลงทุนทางด้านปัญญาที่ดี การอ่านจึงมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และประเทศชาติ Tanyabud (2012) กล่าวว่าการอ่านเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถช่วยให้สังคมไทยพัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การอ่านนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการคิด หรือกระทำสิ่งใดนั้นย่อมต้องอาศัยการอ่านเป็นสำคัญ  ด้วยการอ่านมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนในยุคปัจจุบันยิ่งกว่ายุคที่ผ่านมา เพราะการอ่านเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญสำหรับไขหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลกใบนี้ และถ้าได้นำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาให้แก่สังคมแล้ว บุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นพลเมืองดีของสังคม สังคมใดมีบุคคลที่มีประสิทธิภาพในการอ่านอยู่มาก สังคมนั้นก็จะเจริญพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ประเทศที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วล้วนแต่ส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างจริงจัง

          ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2560 – 2579  ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การพัฒนาศักยภาพคน    ทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเป้าหมาย ดังนี้  ข้อ  ๓.๔ แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและ มาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น แหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ เพิ่มขึ้น สื่อสารมวลชนที่เผยแพร่หรือจัดรายการเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น สื่อตำราเรียน และสื่อ การเรียนรู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และได้รับการพัฒนา โดย การมีส่วนร่วมจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น เป็นต้น

          และสำนักงาน  กศน. ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  2564  ภารกิจต่อเนื่อง  1.4 การศึกษาตามอัธยาศัย  1) พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านและพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การพัฒนา กศน. ตําบล ห้องสมุด ประชาชนทุกแห่งให้มีการบริการที่ทันสมัย ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่าย ส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องสมุดชาวตลาด พร้อมหนังสือและอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้ง เสริมสร้างความพร้อมในด้านบุคลากร สื่ออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน อย่างหลากหลายรูปแบบ

          จากนโยบายดังกล่าว  ส่งผลให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนอำเภอพาน  เพื่อให้สนองตอบต่อนโนบายทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  แนวคิดการจัดกิจกรรมดังกล่าว  มีดังนี้

          1.  การพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นห้องสมุดสมัยใหม่  ที่มีแนวคิดที่จะพัฒนาให้เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้เท่าเทียมกันทุกช่วงวัย

          2.  การสนองตอบความต้องการของประชาชน  โดยการนำความรู้ไปถึงบ้านและชุมชน

          3.  การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสนับสนุน  ส่งเสริม  และพัฒนาอย่างยั่งยืน

          จากปัจจัยดังกล่าว  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้สู่ชุมชน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์

          1.  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการของห้องสมุดประชาชนอำเภอพาน

          2.  เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการพัฒนาการบริการของห้องสมุดประชาชน

          3.  เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนและบ้านหนังสือมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับหน่วยงาน  หรือองค์กรต่าง ๆ

2. บทวิเคราะห์

การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด  และเกิดข้ึนได้หลากหลายรูปแบบ  ทั้งจากการ

เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น ที่เป็นการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หรือเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซ่ึงการเรียนรู้
(Learning) หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การพัฒนาความคิดและ
ความสามารถ โดยอาศัยประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและส่ิงแวดล้อม  ซึ่งการเรียนรู้น้ันจะทําให้พฤติกรรมน้ันเปล่ียนแปลงไปโดยถาวร  การอ่านหนังสือเป็นการเรียนรู้ท่ีผู้อ่านสามารถนําความรู้ท่ีได้จากการอ่านไปพัฒนาตนเองได้   การอ่านหนังสือน้ันมีความสําคัญต่อชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะการอ่านช่วยผลักดันให้เราเป็นที่ยอมรับในสังคม คือ  มีความคิดความอ่านท่ีกว้างขวางขึ้น มุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าท่ีของคนไทยทุกคน  มีนิสัยใฝ่เรียนรู้รักการอ่านต้ังแต่วัยเด็ก  และส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย  ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร  กลุ่มบุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์   สื่อสารด้วยภาษาท่ีเข้าใจง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  และสร้างสังคมแห้งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

ตลอดชีวิต

          หนังสือเป็นส่ิงท่ีสําคัญท่ีสามารถให้ความรู้ได้หลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาและด้านความรู้
รอบตัว  ท่ีสามารถนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้ล้วนแต่เป็นความรู้ที่มาจากการอ่านหนังสือทั้งน้ัน  แต่คนในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญกับหนังสือ  อันเนื่องมาจากมีสื่ออื่น  และสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้น   พบว่าเด็กไทยอ่านหนังสือลดลงเกือบทุกวัน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเป็นอยู่ การศึกษาและค่านิยมต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนในสังคม  รวมท้ังสภาพแวดล้อมในปัจจุบันอีกด้วย ในขณะเดียวกันการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ในสังคมน้ันไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่หากจะมีส่ือชนิดอ่ืนที่มีอิทธิพลเพิ่มข้ึนมาในสังคมอีกมากมาย  นอกจากนี้การท่ีเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงยังเป็นผลมาจากการท่ีถูกส่ิงต่าง ๆ ท่ีน่าดึงดูดและน่าสนใจกว่า เช่น โลกอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ท่ีมีอิทธิพลต่อคนในปัจจุบันมาก เน่ืองจากการมีค่านิยมที่ผิด ๆ คือ  การที่คิดว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ล้าสมัยอยู่

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  หมวด  4  มาตรา 24 กล่าวถึงคุณลักษณะและนิสัยด้านการอ่าน  กําหนดให้มีการ “จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทําได้  คิดเป็น  ทําเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง”  นอกจากนั้นได้กําหนดปัจจัย ส่งเสริมสนับสนุนการอ่านและการเรียนรู้ เช่น กล่าวว่า “กระบวนการเรียนรู้มุ่งให้นักเรียนมีความคิด ริเร่ิมสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ือง”  เน้นความรู้และทักษะด้านภาษา “เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง” และ  “รัฐต้องส่งเสริมการดําเนินงานและการจัดต้ังแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ อย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ”

          ดังนั้น  ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้สู่ชุมชน  จะต้องส่งเสริมให้เด็กและผู้รับบริการมีความสนใจในการอ่าน  การส่งเสริมความสนใจในการอ่านต้องคำนึงถึงพัฒนาการและความสามารถของเด็กและผู้รับบริการ  จะทำให้รู้สึกว่าการเรียนรู้ภาษามีความน่าสนใจ  อยากเรียนรู้  เนื่องจากการเรียนรู้ที่เกิดจากการเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง ทำให้ไม่เครียดและไม่รู้สึกว่าถูกบังคับจากผู้ใหญ่  ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางภาษา   ทั้งทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ครอบคลุมทุกด้านและเต็มตามศักยภาพ  ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจแนวทางในการส่งเสริมและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความสนใจในการอ่านได้อย่างเหมาะสม  และห้องสมุดประชาชนต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับผู้รับบริการทุกช่วงวัย  ทุกพื้นที่  จึงต้องมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด  กศน.ตำบล  และบ้านหนังสือชุมชน  รวมทั้งสนับสนุนให้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านช่วยกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  

3. แนวความคิด

          ข้อเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนางานแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้สู่ชุมชน คือ

1. การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม   การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษามีความสำคัญต่อการสร้างความสนใจในการอ่านของเด็ก  เด็กควรจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวหนังสือ  มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู  มีโอกาสเลือกทำงานที่ชอบและสนใจ ดังนั้นภายในห้องจึงจัดให้มีมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน  เช่น

1) มุมหนังสือจะมีชั้นวางหนังสือเหมือนในห้องสมุด  เพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาด้วยตนเองตามธรรมชาติ  ควรมีหนังสือนิทาน  วรรณกรรมสำหรับเด็กอย่างน้อยเท่ากับจำนวนเด็กและเพิ่มมุมเขียนหนังสือ มุมอ่านหนังสือ มุมห้องสมุดในห้องเรียน เด็กสามารถเข้าไปอ่านได้อย่างอิสระและสามารถยืมกลับไปอ่านต่อที่บ้านได้ โดยครูสนับสนุนให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังที่บ้าน สำหรับหนังสือวรรณกรรมที่มุมห้องสมุดนั้น ครูจะแสวงหาเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยแลกเปลี่ยนกับห้องอื่น ถ้าโรงเรียนมีห้องสมุดกลางครูอาจนำเด็กไปเลือกดูหนังสือคู่กับบรรณารักษ์

2) มุมเขียนหนังสือมีโต๊ะเก้าอี้ให้เด็กนั่งเขียน  เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับตัวหนังสือ

3) ส่วนมุมอื่นๆ เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ มีป้ายบอกชื่อมุมหรือบอกอุปกรณ์ที่จัดไว้ในมุม บอกจำนวนเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสัญลักษณ์

2. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและให้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ ได้แก่ อ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การอ่านอาจนำหนังสือเล่มเก่ามาอ่านให้เด็กฟังถ้าเด็กขอร้อง อาจจะอ่านในช่วงกิจกรรมที่มีเด็กนั่งฟังเพียง   4–5 คนก็ได้ สำรวจความต้องการอ่านของเด็ก เพื่อจัดหนังสือให้ตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับวัยของเด็ก จัดป้ายนิเทศหมุนเวียนเปลี่ยนให้บ่อย ๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดใจและกระตุ้นให้เด็กสนใจอยากอ่าน จัดหาหนังสือที่หลากหลายประเภท ได้แก่ หนังสือนิทานภาพ หนังสือนิทานสามมิติ หนังสือนิทานผ้า และ หนังสือนิทานรูปทรงต่าง ๆ เพียงพอกับความต้องการของเด็ก

3. กิจกรรมการเล่น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความสนใจในการอ่านและการเขียน เพราะเด็กมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะเลือกทำกิจกรรมในมุมใด ในแต่ละมุมจะมีวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมภาษา เช่น ตัวหนังสือบนสิ่งของเครื่องใช้  สิ่งของที่มีตัวหนังสือมาประกอบการเล่น มุมวิทยาศาสตร์ เขียนบัตรคำบอกชื่อสิ่งต่างๆไว้ มุมคณิตศาสตร์จัดให้มีตัวเลข ตัวหนังสือที่ของเล่น เป็นต้น เป็นโอกาสที่บรรณารักษ์จะได้สังเกตเด็กและสนทนาซักถามเด็กได้ทีละคน พยายามชักชวนให้เด็กทำกิจกรรมที่หลากหลาย

4. กระตุ้นและสร้างความสนใจให้อยากรู้เรื่องราวในหนังสือ ด้วยการจัดนิทรรศการ แนะนำหนังสือใหม่ เล่าเรื่องประกอบ อ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน สนับสนุนให้เด็กได้เล่าเรื่องที่อ่านให้เพื่อน ๆ ฟัง จัดอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการอ่าน เช่น เครื่องเล่นซีดี หูฟัง ซีดีเพลง ซีดีนิทาน ให้หลากหลายประเภทและเหมาะสมเพียงพอกับความต้องการของเด็ก จัดอุปกรณ์เอื้ออำนวยความสะดวกในการอ่าน ได้แก่ หนอนอิง โต๊ะญี่ปุ่น ตุ๊กตา หุ่นมือ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในมุมเด็ก

5. บรรณารักษ์เป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่าน โดยการอ่านหนังสือให้เด็กเห็นและพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับราวของหนังสืออยู่เสมอ บรรณารักษ์เป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส กระตุ้นให้เด็กรักการอ่านด้วยปิยวาจา เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยไม่บังคับ ให้กำลังใจและยกย่องชมเชยเมื่อเด็กแสดงความสนใจในการอ่าน

6. ให้หนังสือเป็นรางวัลในโอกาสต่าง ๆ เช่น เมื่อทำความดี ตอบคำถามถูกต้อง หรือเมื่ออ่านหนังสือได้จำนวนมาก

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชน

1. กิจกรรมแนะนำหนังสือ เป็นการแนะนำหนังสือใหม่  จัดมุมแนะนำหนังสือน่าอ่าน  หรือการทำ  QR  Cord  แนะนำหนังสือน่าอ่านอย่างสั้น ๆ  และอาจจะทำบรรณานิทัศน์แนะนำหนังสือ  โดยนำหน้าปกหนังสือมาใส่ในบรรณานิทัศน์  เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่าน

2.  กิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านกระบวนการเล่นเกมการศึกษา  ได้แก่ จิกซอ โดมิโน เกมจับคู่    โดยบรรณารักษ์จัดทำเกมการศึกษาเหล่านี้ขึ้นโดยการนำภาพปกหนังสือนิทานเป็นภาพในเกม เมื่อเด็กเล่นเกมเสร็จ บรรณารักษ์แนะนำว่า หนังสือเล่มนั้นๆ ดีอย่างไร สนุกตรงไหน และเลือกอ่านข้อความบางตอนที่น่าสนใจให้เด็กฟังด้วย นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ได้ฝึกการสังเกต คาดคะเน รูปร่างรูปทรง ฝึกจำแนกความแตกต่างและความเหมือนด้วยสายตา

  3. กิจกรรมเล่านิทาน เป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เหมาะกับเด็กมากที่สุด เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถอ่านหนังสือด้วยตนเองได้ การฟังนิทานจึงเป็นสื่อสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กและยังเป็นวิธีการสอนเด็กโดยไม่ให้เด็กรู้ตัว วิธีการเล่านิทานที่น่าสนใจได้แก่ การเล่านิทานปากเปล่า การเล่านิทานประกอบหนังสือ และการเล่านิทานประกอบสื่อ เช่น หุ่นนิ้ว การพับกระดาษ การปั้นดินน้ำมัน เป็นต้น

 4. กิจกรรมสมุดบันทึกรักการอ่าน เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน การอ่านจะช่วยพัฒนาสมาธิและทักษะทางการคิดของนักเรียนได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่อำเภอพานได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน และได้ทำแบบบันทึกกิจกรรมรักการอ่านขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่อำเภอพานได้บันทึกสิ่งที่ได้จากการอ่านลงไป

5.  กิจกรรมฝึกทักษะอาชีพ  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการประดิษฐ์งานฝีมือต่าง ๆ  เช่น  การร้อยลูกปัด  การประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษสา  งาน DIY  เป็นต้น  มีการเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่น / ปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้  ส่งเสริมความรู้ของชุมชน  เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีในชุมชน   บรรณารักษ์มีการจัดทำ แผ่นพับวิธีการทำ  และแนะนำว่าเรื่องนี้สามารถค้นหาอ่านจากหนังสือเล่มใด หรือค้นหาได้จากสื่อใดบ้าง

4.  ข้อเสนอ

          1.  ด้านนโยบาย

                   –  เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของห้องสมุดประชาชนอำเภอพาน  ขยายเวลาเปิด-ปิดห้องสมุด  (เดิมวันจันทร์  ถึงวันศุกร์)  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

                   –  กศน.อำเภอผลักดันให้มีนโยบายส่งเสริมการรักการอ่านในองค์กร  พร้อมทั้งรณรงค์ส่งเสริมให้ข้าราชการ  บุคลากรของ  กศน.อำเภอและครอบครัว  จนถึงนักศึกษาและประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการในด้านต่าง ๆ

                   –  เพิ่มจำนวนบ้านหนังสือชุมชน  ปีละ  3  แห่ง 

          2.  ด้านการบริหารจัดการ

                   –  กำหนดให้มีคณะกรรมการห้องสมุดประชาชน  เพื่อให้แนวคิดแบบมีส่วนร่วม  คือ  เสนอแนวคิด  นโยบายการพัฒนาและการบริหารจัดการห้องสมุด  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้ประชาชน    ทุกกลุ่มเป้าหมาย  ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานห้องสมุด  วางแผนติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงานของห้องสมุด

                   –  อาคารสถานที่  มีการจัดมุมข้อมูลท้องถิ่น  จัดมุมบริการผู้ด้อยโอกาส  เช่น  คนพิการ  คนชรา  เป็นต้น  และจัดมุมอ่านหนังสือด้านนอกอาคาร

          3.  ด้านบริการเชิงรุก

                   –  บรรณารักษ์และครู กศน.ตำบลทุกแห่งสนับสนุนการรักการอ่าน  เช่น  จัดมุมบริการหนังสือใน กศน.ตำบล  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  บ้านหนังสือชุมชน  และประชาสัมพันธ์ห้องสมุด / บ้านหนังสือชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ให้ประชาชนได้ทราบถึงการให้บริการด้วย

                   –  ส่งเสริมการเข้าถึงหนังสือของประชาชนในพื้นที่  โดยเฉพาะที่สาธารณะต้องจัดหนังสือไปให้อ่าน  หรือจัดทำ  QR Code แนะนำหนังสือน่าอ่าน  เช่น  ป้ายรถโดยสารประจำทาง  ร้านอาหาร  อบต.  ที่ว่าการอำเภอ  เป็นต้น

                   –  เน้นการให้บริการเชิงรุก  มีการขยายกลุ่มให้บริการแก่บุคคลกลุ่มเป้าหมายพิเศษ  โดยเฉพาะนักเรียนในระบบ  ผู้ด้อยโอกาส  ผู้พิการ  คนชรา  และผู้ป่วยในโรงพยาบาล  เป็นต้น

          4.  ด้านเครือข่ายและความร่วมมือ

                   –  เชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุดประชาชนกับโรงเรียนต่าง ๆ  ประชาสัมพันธ์การบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด  และการเปิด-ปิดห้องสมุดให้นักเรียนได้ทราบ

                   –  ความร่วมมือกับเครือข่าย  ในการพัฒนาห้องสมุดและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน        ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด  สำหรับเด็ก  เยาวชน  และประชาชน

          5.  ด้านกิจกรรม

                   –  จัดทำโครงการหนังสือหมุนเวียนระหว่างห้องสมุดและบ้านหนังสือชุมชน  เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่หลากหลาย  มีการจัดทำ QR  Cord  แนะนำหนังสือน่าอ่านอย่างสั้น ๆ 

                   –  จัดตั้งชมรมอาสาสมัครรักการอ่าน  ชุมชนรักการอ่าน  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใน         ตัวบุคคลให้เกิดการกระจายหนังสือไปสู่เด็กและเยาวชน

          6.  ด้านบุคลากร

                   –  การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีทักษะในการใช้ภาษา  โดยการจัดอบรม  สัมมนา  และศึกษาดูงาน

                   –  การพัฒนาความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครรักการอ่าน  อาสาสมัครบ้านหนังสือชุมชน  เพื่อพัฒนาบ้านหนังสือชุมชนให้มีบทบาทเข้มแข็งในชุมชน  โดยการปฐมนิเทศ  จัดประกวด          การประชุม  และการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น  การประกาศเกียรติคุณ

          7.  ด้านการประชาสัมพันธ์

                   –  การประสานกับเครือข่าย  เช่น  หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน  สถานีวิทยุชุมชน  อบต.  เพื่อสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของห้องสมุดประชาชนและการอ่าน  รวมทั้งมีการรณรงค์ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของประชาชนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อการรับรู้และการเข้าถึงห้องสมุด  บ้านหนังสือชุมชนของเด็ก  เยาวชน  และประชาชน  ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น

                   –  มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกตามสถาบันการศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ  ตลาดสด  ตลาดนัดเพื่อให้เด็ก  เยาวชน  และประชาชนได้รู้จักห้องสมุดประชาชน

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของห้องสมุดประชาชน  รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมนิสัย   รักการอ่านของประชาชนให้มีความใฝ่รู้  รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.  ห้องสมุดประชาชนมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้บริการ  มีกิจกรรมที่หลากหลาย  ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยง่ายและตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่

3.  มีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  และสามารถเพิ่มจำนวนผู้รับบริการ  จำนวนบ้านหนังสือชุมชน  อันจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสังคมให้เป็นสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

6. ตัวชี้วัดความสำเร็จ

          –  การจัดตั้งคณะกรรมการห้องสมุดประชาชน 

          –  จัดทำข้อมูลเครือข่ายห้องสมุด  ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ปราชญ์ชาวบ้าน  ข้อมูลบ้านหนังสือชุมชน  อาสาสมัครบ้านหนังสือชุมชน

          –  ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริหารของห้องสมุดประชาชน เพิ่มขึ้นต่อปี  5 %

          –  จำนวนบ้านหนังสือชุมชน  และอาสาสมัครบ้านหนังสือชุมชน  เพิ่มขึ้น  3  แห่ง  3  คนต่อปี 

          –  จัดทำมุมส่งเสริมการอ่านให้บริการสำหรับผู้ด้อยโอกาส  เช่น  ผู้พิการ  คนชรา  และผู้ป่วย          ในโรงพยาบาล  เป็นต้น

          –  บรรณารักษ์และอาสาสมัครได้รับการฝึกอบรม  ประชุมหรือสัมมนา  ศึกษาดูงานทุกปี

                                                            (ลงชื่อ)…………………………………………………….

                                                                      (…….นางสาววงศ์สิริ   ชุนดี………)

                                                                                ผู้เสนอแนวคิด

                                                            วันที่………..เดือน…….กันยายน…….พ.ศ…..2564…..        

เอกสารประกอบ <<การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้สู่ชุมชน>>
เอกสารประกอบ <<การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  สุขสันต์วันปิดเทอม>>
เอกสารประกอบ <<การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านพัฒนาการคิดอย่างสร้างสรรค์ >>